4 ข้อควรระวัง ก่อนจ้าง Influencers

การใช้ Key Opinion Leaders (KOLs) หรือ Influencers มาเป็นส่วนเสริมในแคมเปญด้านการตลาด กลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงใน 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และไม่มีทีท่าว่าลดความนิยมลงเลย เนื่องด้วย Influencers นั้นมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า และเพิ่มยอดขายได้อย่างเห็นผล

.

อย่างไรก็ตาม ก่อนจ้าง Influencers ยังมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้

:: เลือกให้ดี เพราะบางที ผู้ติดตามมากอาจได้ผลลัพธ์น้อย ::

ในปัจจุบัน บนโซเชียลมีเดียนั้นต่างเต็มไปด้วยคอนเทนต์ที่หลั่งไหลเข้ามาให้เราได้เสพ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีผู้ใช้งานที่ผันตัวมาเป็น Influencers กันอย่างนับไม่ถ้วน ทำให้วันหนึ่งนั้นเราได้รับโฆษณาจากแบรนด์สินค้าผ่านทาง Influencers มากมาย และจากผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้งานมักมีส่วนร่วมกับโพสต์สินค้าพวกนี้น้อย ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานของ InfluencerDB บริษัท Influencer Marketing ดังนี้

ในไตรมาสแรกของปี 2019 อัตราการมีส่วนร่วมของโพสต์ที่ได้รับการ Sponsored นั้น ตกลงไปอยู่ที่ 2.4% จาก 4% ของสามปีก่อนหน้า ในขณะที่ อัตราของโพสต์ธรรมดาลดลง 1.9% จาก 4.5%

นอกจากนี้ ยอดการมีส่วนร่วมของโพสต์บน Instagram จาก Influencers ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คน จะอยู่ที่ 3.6% ส่วน Influencers ที่มีผู้ติดตาม 5,000-10,000 คน จะมียอดการมีส่วนร่วม 6.3% และ Influencers ที่มีผู้ติดตาม 1,000-5,000 คน จะได้ยอดที่สูงที่สุดถึง 8.8%

ดังนั้น แทนที่จะเสียเงินจำนวนมากไปลงโฆษณากับ Influencers ที่มีจำนวนยอดผู้ติดตามสูง นักการตลาดปัจจุบันจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ “Nano-Influencers” ที่ราคาถูกกว่า มีความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพื่อสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สินค้าพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสนิทสนมยิ่งขึ้น

:: คอนเทนต์ต้องจริงใจ ::

เป็นที่รู้กันว่าบางทีเวลาที่ Influencers โฆษณาสินค้าอะไร เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้ชอบหรือเคยใช้สินค้านั้นจริงๆ และแบรนด์เองก็อาจไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่พลาด เพราะจากการศึกษาของ Bazaarvoice ชี้ว่า 47% ของลูกค้านั้นเหนื่อยหน่ายกับคอนเทนต์ขายของที่มาจาก Influencers เพราะคอนเทนต์นั้นดูไม่น่าไว้วางใจ และอีก 62% เชื่อว่า Influencers เหล่านั้นฉกฉวยประโยชน์จากผู้ติดตามที่หลงเชื่อง่าย

ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดควรทำก็คือพยายามหา Influencers ที่มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้ามากที่สุด และปล่อยให้ Influencers ได้สร้างสรรค์คอนเทนต์เอง เพราะ Influencers มักจะรู้จักผู้ติดตามของตัวเองดีกว่าใคร

:: ผู้ติดตามมาก จ่ายมาหรือเปล่า? ::

อีกสิ่งที่เราต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ ดูด้วยว่า Influencer คนนั้นไม่ได้จ่ายเงินซื้อจำนวนผู้ติดตามมา หรือ มีสัดส่วนของผู้ติดตามที่เป็นบอตจำนวนมาก

จากการสำรวจโดยเว็บไซต์ Hit Search พบว่า 98% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ยอมรับว่า เคยพบกับบัญชีผู้ใช้ที่มียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นในลักษณะที่ผิดแปลกออกไป คือยอดเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงเวลาสั้นๆ หรือพบว่าบัญชีนั้นๆ มีผู้ติดตามที่เป็นบัญชีปลอมจำนวนมาก

เหตุที่เราต้องระวังในเรื่องนี้เป็นเพราะ ถ้าผู้ติดตามเป็นบัญชีปลอมหรือบอต ก็เท่ากับว่าเราส่งคอนเทนต์หรือโฆษณาไปหาความว่างเปล่า เพราะบัญชีเหล่านั้นไม่ได้มีผู้ใช้งานที่เป็นคนจริงๆ กลายเป็นว่าเราเสียเงินจ้าง Influencer ไปอย่างไร้ประโยชน์โดยที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย

ที่มา : https://bit.ly/2XEezQH

:: ชื่อเสีย แบรนด์เสีย ::

ก่อนที่คิดจะจ้าง Influencers สิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งเลยก็คือ เราควรตรวจสอบให้ดีว่า Influencers นั้นไม่มีชื่อเสีย หรือ เคยก่อปัญหาที่มีความหมิ่นด้านศีลธรรมบนโซเชียลมีเดีย

เพราะ Influencers เหล่านี้ไม่เพียงทำลายภาพลักษณ์ของตัวเอง แต่ยังทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปด้วย ทำให้แบรนด์สูญเสียความน่าเชื่อถือจากลูกค้า กลายเป็นการลงทุนที่นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลที่ดี ยังทำให้เป็นอันตรายต่อแบรนด์อีกด้วย

.

#Digisaws

#HolisticDigitalMarketing

บทความอื่น ๆ

MUKETING เทรนด์สายมูที่ทำให้คุณปังในโลกออนไลน

การกำหนดบุคลิกของลูกค้า ในอุดมคติของคุณในรูปเเบบเชิงสมมุติ เพื่อมาวิเคราะห์ลักษณะเเละพฤติกรรมส่วนใหญ่เเละความชอบของกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด

Categories

บทความยอดฮิต

MUKETING เทรนด์สายมูที่ทำให้คุณปังในโลกออนไลน

การกำหนดบุคลิกของลูกค้า ในอุดมคติของคุณในรูปเเบบเชิงสมมุติ เพื่อมาวิเคราะห์ลักษณะเเละพฤติกรรมส่วนใหญ่เเละความชอบของกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด