คอนเทนต์วิดีโอถือเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่ต้องมีติดเพจไว้เลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยในปัจจุบันคนมักเสพภาพมากกว่าตัวอักษร เพราะภาพนั้นดึงดูดสายตา เข้าใจง่าย และใช้เวลาในการเสพไม่มาก ยิ่งถ้าเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงด้วยแล้วยิ่งเข้าถึงคนง่ายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกวิดีโอนั้นจะประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเฟซบุ๊ก เพราะนอกเหนือจากความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็ได้มีแนวทางในการสร้างวิดีโอให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
.
.
1. ทำให้วิดีโอเป็นวิดีโอจริงๆ
เมื่อคนเข้ามารับชมวิดีโอสิ่งที่เขาคาดหวังว่าจะได้ชมควรจะเป็นวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวจริงๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรจะปรากฏในคลิปของเราไม่ควรจะเป็นการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกันแบบสไลด์โชว์ ใส่แต่ตัวอักษรเพื่อเหล่าเรื่อง หรือใช้เป็นวิดีโอสั้นๆ เพียงไม่กี่วินาทีเล่นซ้ำยาวเป็นนาที
.
2. วิดีโอควรมีความยาวกำลังดี
วิดีโอที่จะนำเผยแพร่บนเฟซบุ๊กควรมีความยาวที่เหมาะสม เพื่อจับความสนใจคนดูได้อย่างฉับไว ไม่ยื้อเยื้อ ซึ่งความยาวของวิดีโอที่ทางเฟซบุ๊กแนะนำ คือ 1-3 นาที หรือ มากกว่า 3 นาที สำหรับวิดีโอขนาดยาวที่มีหลายตอน ส่วนวิดีโอขนาดสั้นที่ปรากฏในรูปแบบของทีเซอร์ ประกาศ โฆษณา โพล ภาพข่าวที่น่าสนใจ หรือช็อตขำขัน ทั้งหลาย ควรมีความยาวต่ำกว่า 1 นาที และ ยาวไม่เกิน 20 วินาทีสำหรับ Facebook Stories
.
.
3. ทำวิดีโอให้เหมาะกับการดูบนมือถือ
ปัจจุบัน ผู้ใช้เฟซบุ๊กเกินกว่าครึ่งเล่นเฟซบุ๊กผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น วิดีโอที่เราจะทำ ควรจะต้องตอบโจทย์หรือสามารถเอาชนะกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กบนมือถือนี้ได้ ซึ่งเฟซบุ๊กแนะนำแนวทางดังนี้
1. ควรทำวิดีโอที่สามารถเรียกความสนใจของผู้ชมได้ภายใน 3 วินาทีแรกของวิดีโอ และสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์ที่จดจำได้ง่าย เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่มักเลื่อนผ่านหน้า Feed ไปอย่างรวดเร็ว
2. ควรทำวิดีโอขนาด 1:1 (สี่เหลี่ยม) หรือ 9:16 (ในแนวนอน) เพราะเป็นสัดส่วนที่ตอบโจทย์กับการดูวิดีโอบนมือถือ
3. ใช้ภาพระยะใกล้ (close-in shots) ตัวอักษรอ่านง่าย และเป็นภาพโทนสว่าง เพราะผู้ชมต้องดูผ่านจอขนาดเล็ก
4. ควรโพสต์บ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ไม่ว่าเมื่อไหร่ที่ผู้ชมเข้ามาใช้เฟซบุ๊กก็จะได้เห็นคอนเทนต์ใหม่ๆ จากคุณ
.
4. วิดีโอมีขนาดไฟล์และความละเอียดที่เหมาะสม
เป็นเรื่องสำคัญที่วิดีโอจะต้องมีความละเอียดที่เพียงพอ เพื่อความคมชัดของไฟล์ภาพ โดยวิดีโอที่เผยแพร่บนจะต้องมีเฟรมเรต หรือ Frames per second อยู่ที่ 30 fps (ภาพนิ่ง 30 ภาพ ต่อ 1 วินาที) นอกจากนี้ ควรมีอัตราบิต (Bit-rate) อย่างต่ำที่ 3 mbps สำหรับความละเอียด 720 px และ 6 mbps สำหรับความละเอียด 1080 px
และถ้าหากมีภาพเคลื่อนไหวหรือข้อความในวิดีโอเป็นจำนวนมากควรใช้เป็น 6 mbps
.
5. วิดีโอไม่ควรมีเนื้อหาที่ล่อให้คนเข้ามากดไลก์ กดแชร์ หรือคอมเมนต์
ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่เป็นการล่อคนให้เข้ามีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ ซึ่งควรหลีกเลี่ยง มีดังต่อไปนี้
1. Reaction Bait : การขอให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์แบบโต้งๆ เช่น ขอให้กดถูกใจ กดรัก กดหัวเราะ กดเศร้า หรือกดโกรธ
2. Share Bait : การขอให้คนช่วยแชร์โพสต์
3. Comment Bait : การขอให้คนช่วยคอมเม้นด้วยคำตอบที่มีความเฉพาะเจาะจง อย่างเช่น คำบางคำ ตัวเลข วลี หรือ อิโมจิ
4. Tag Bait การขอให้คนช่วยแท็กเพื่อนในคอมเมนต์
5. Vote Bait : การขอให้คนช่วยโหวต ไม่ว่าจะผ่านการกดไลค์ คอนเมนต์ หรือแชร์
.
6. ใช้ทั้งเสียงและแคปชันในการเล่าเรื่อง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีคนจำนวนมากที่ใช้เฟซบุ๊กในโหมดปิดเสียง ในทางกลับกัน ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เปิดเสียงเวลาใช้งาน ดังนั้น ถ้าเราคิดจะทำวิดีโอจึงควรทำสองทาง เพื่อให้ผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่มเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไป
โดยการทำวิดีโอสำหรับผู้ใช้งานแบบเปิดเสียงนั้น เราควรอัดเสียงและเก็บเสียงจริงขณะถ่ายทำ เพื่อนำมาใส่ในวิดีโอ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้เสียงประกอบและเพลงต่างๆ เข้ามาเพิ่มอรรถรสในการรับชม
ส่วนการทำวิดีโอสำหรับผู้ใช้งานแบบปิดเสียง เราควรวางซ้อนข้อความ และโลโก้ของแบรนด์ลงบนวิดีโอ ใส่แคปชันและซับไตเติ้ล เพื่อช่วยสื่อความ โดยเราสามารถเลือกใส่ซับไตเติลหรือแคปชันากคำสั่งการตั้งค่าวิดีโอบนเฟซบุ๊กได้ 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
– Auto Generate : ระบบจะขึ้นซับให้โดยอัตโนมัติ แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังว่าแคปชั่นและซับที่ขึ้นมานั้นอาจไม่ถูกต้อง 100% ดังนั้นก่อนจะโพสต์ควรตรวจสอบความถูกต้องของซับด้วย
– Write : คุณสามารถใส่แคปชันและซับได้เองด้วยการพิมพ์ลงในระบบ
– Upload : ถ้าคุณใส่แคปชันหรือซับต่างๆ ไว้แล้วในวิดีโอบน Youtube ขั้นตอนต่อไปก็คือการให้ทำให้ไฟล์นั้นอยู่ในรูปแบบของ SubRip (.srt) ก่อนอัพโหลดขึ้นเฟซบุ๊ก
.
.
7. มีความเป็นตัวของตัวเอง
การเป็นตัวของตัวเอง จะทำให้เราแตกต่างจากคนนับล้านบนเฟซบุ๊ก ซึ่งการเป็นตัวของตัวเองนี้ คุณจำเป็นที่จะต้องค้นหามันให้เจอโดยอาจเริ่มต้นจากการตอบคำถามง่ายๆ อย่างเช่น คุณมีการใช้ภาษาอย่างไร มีอารมณ์ขันแบบไหน มีบุคลิกอย่างไร เป็นต้น
นอกจากนี้ ก่อนจะแสดงความเห็นหรือลงคอนเทนต์อะไรไป ควรจะต้องไตร่ตรองเป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองทำ และหลีกเลี่ยงที่เลียนแบบหรือนำเสนอคอนเทนต์ที่จะชักนำผู้คนไปในทางที่ผิด
.
8. ใส่ Hashtag เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา
ควรใส่ Hashtag ในแคปชันของโพสต์ทุกครั้ง โดยวิธีนี้จะช่วยให้วิดีโอของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ นอกจากจะติดแท็กแล้ว ยังควรใส่ชื่อและคำอธิบายวิดีโอที่มีความชัดเจนและสื่อความ ตลอดจนสร้างภาพตัวอย่างวิดีโอ (thumbnail) ที่สะดุดตา
.
.
9. ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนที่จะแชร์คอนเทนต์ใดๆ บนโซเชียลมีเดีย ควรตรวจสอบเรื่องลิขสิทธิ์ให้ดี เพราะนี่เป็นเรื่องที่ไม่เพียงจะสำคัญกับภาพลักษณ์ของเราเท่านั้น แต่เกี่ยวพันถึงในเรื่องของกฎหมาย
.
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/business/learn/lessons/video-best-practices-checklist